วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โรคไข้เลือดออก


                       เกิดจากไวรัสแดงกี่ที่มีอยู่ 4 ชนิด เป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ยุงลายจะได้รับเชื้อไวรัสจากผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้เลือดออกและแพร่ไปสู่คนอื่นๆ สามารถพบผู้ป่วยได้ในทุกกลุ่มอายุ โดยจะพบมากในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี และจะระบาดได้ตลอดปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน

ยุงลาย 

                         จะออกหากินในตอนกลางวันและมักหลบซ่อนตัวในที่มืดอาศัยและวางไข่ทั่วไปในชุมชนแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายจะอยู่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่นแจกัน จานรองขาตู้กับข้าว โอ่งน้ำ ภาชนะกักเก็บน้ำในห้องน้ำ จานรองกระถางต้นไม้ ยางรถยนต์เก่า กระป๋อง กะลา เป็นต้น


รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคไข้เลือดออก

                    อาการในผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูกและมีจุดแดงที่ผิวหนังได้ แต่ถ้าติดเชื้อครั้งที่ สองโดยเป็นเชื้อที่ต่างชนิดกันกับครั้งแรกอาจเป็นไข้เลือดออก ซึ่งมีอาการสำคัญแบ่งออกได้ 3 ระยะคือ
                1.ระยะไข้ ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเกือบตลอดเวลา มักมีหน้าแดงเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียนปวดท้อง และอาจมีจุดแดงตามตัวแขนขา ระยะนี้จะเป็นอยู่ราว 2-7 วัน
               2.ระยะช็อก เกิดในช่วงที่ไข่ลดลง ผู้ป่วยจะซึม มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเบาแต่เร็ว ปวดท้อง โดยเฉพาะบริเวรชายโครงขวา ปัสสาวะออกน้อย อาจมีเลือดออกง่าย เช่น มีเลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด อุจาระมีสีดำ ในรายที่ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจถึงตายได้
               3. ระยะฟื้น อาการต่างๆจะเริ่มดีขึ้น ผู้ป่วยจะรู้สึกอยากรับประทานอาหาร ปัสสาวะออกมากขึ้น บางรายอาจมีจุดแดงเล็กๆ ตามลำตัวแขนขา

 เมื่อเป็นไข้เลือดออกจะทำอย่างไร

                          เนื่องจากยังไม่มียาเฉพาะที่สามารถต้านเชื้อไวรัสไข้เลือดออก การรักษาตามอาการจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ถ้าผู้ป่วยมีไข้สูง ควรใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเพื่อลดไข้ หากจำเป็นต้องใช้ยาลดไข้ควรใช้ยาพาราเซตามอล ห้ามใช้ยาแอสไพริน เพราะจะทำให้เลือดออกง่าย หากมีอาการอ่อนเพลียให้ดื่มน้ำผลไม้ หรือน้ำตาลเกลือแร่บ่อยๆ ถ้าหากมีอาการแย่ลงกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น พร้อมกับมีไข้ลดลง ต้องรีบน้ำส่งโรงพยาบาลทันที

 การป้องกันโรคไข้เลือดออก

1.ต้องระวังอย่าให้ยุงกัดในเวลากลางวันซึ่งป้องกันได้ด้วยการนอนในมุ้งหรือในห้องที่มีมุ้งลวด 
2.ช่วยกันกำจัดลูกน้ำและลดแหล่งเพราะกันยุงลาย โดย 
         2.1 ปิดฝาภาชนะให้มิดชิด
         2.2 หมั่นตรวจดูแจกันและเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกสัปดาห์
         2.3 ใส่ปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยุง ปลากระดี่ ปลาบู่ ปลาหมอ ในภาชนะเก็บน้ำที่ปิดฝาไม่ได้
         2.4 เก็บคว่ำหรือทำลายภาชนะที่ไม่ใช้แล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้มีน้ำขัง 
         2.5 ใส่เกลือหรือน้ำส้มสายชู หรือผงซักฟอกลงในน้ำหล่อจานรองขาตู้กับข้าวเพื่อป้องกันไม่ให้ยุงวางไข่

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น