วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บทางศีรษะ

การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บทางศีรษะ



การบาดเจ็บที่ศีรษะ
          การหกล้มหรือการตกจากที่สูงแล้วศีรษะกระทบพื้น จัดเป็นภยันตรายที่เกิดขึ้นพบได้บ่อยดังนั้นควรจะให้ความสำคัญ กรณีศีรษะได้รับความกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ต้องสังเกตดูว่ามีการหมดสติหรือไม่ สติสัมปชัญญะเหมือนปกติหรือไม่ สามารถโต้ตอบพูดคุยได้เป็นปกติหรือไม่ โดยปกติอาการบาดเจ็บที่มีต่อสมองอาจเกิดขึ้นได้ทันทีทันใด หรือส่วนใหญ่มักจะเกิดปัญหาขึ้นภายใน 48-72 ชั่วโมง หลังจาก 72 ชั่วโมงไปแล้ว ก็อาจเกิดขึ้นได้แต่พบน้อย
อาการสำคัญที่ควรไปพบแพทย์
1.       หมดสติ
2.       ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
3.       ตาพร่ามัว มองเห็นภาพไม่ชัดเจน
4.       อาการชาหรืออ่อนแรงของมือแขนหรือขา
5.       อาเจียนรุนแรง อาเจียนพุ่ง
6.       มีอาการอื่นๆร่วมด้วย ถ้าสงสัยว่าจะมีอันตรายร้ายแรง ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและให้คำปรึกษาต่อไป
ผลเกิดจากการบาดเจ็บศีรษะ
1.      บาดแผลที่หนังศีรษะ
2.      กะโหลกศีรษะแตกร้าวหรือยุบ
3.      สมองกระทบกระเทือน
4.      สมองช้า
5.      เลือดคั่งในสมอง
อาการผิดปกติที่เกิดจากสมองกระทบกระเทือน
1.      ระดับความรู้สึกตัวลดลง เช่นนอนซึม เรียกไม่ค่อยรู้สึกตัว หรือมีอาการเอะอะโวยวาย
2.      โต้ตอบและทำตามคำสั่งไม่ได้
3.      คลื่นไส้อาเจียน
4.      อาการปวดศีรษะมากขึ้น
5.      อาการอ่อนแรงของแขนขาข้างใดข้างหนึ่ง
6.      อาการเกร็งกระตุกของกล้ามเนื้อบริเวณหน้าแขน หรือขา
7.      ตาพร่ามัวมองเห็นไม่ชัดเจน หรือมองเห็นเป็นภาพซ้อน
ลักษณะความผิดปกติทั่วไปที่พบในผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะ
          เมื่อมีการบาดเจ็บที่ศีรษะและสมองเกิดขึ้น จะส่งผลให้เกิดความผิดปกติในหลายๆด้าน ที่สำคัญได้แก่ ด้านความรู้ ความเข้าใจ ด้านพฤติกรรม ด้านการรับสัมผัส และการเคลื่อนไหว ด้านความรู้ ด้านความเข้าใจ เป็นกระบวนการทางด้านจิตใจ หรือความสามารถ ที่จะรู้ในสิ่งต่างๆ รวมถึงตระหนัก การรับรู้ การใช้เหตุผลการสื่อภาษา ความจำ และการตัดสินใจ ซึ่งผู้บาดเจ็บที่ศีรษะมักมีความผิดปกติ หรือบกพร่องในด้านเหล่านี้ การสูญเสียความทรงจำระยะสั้นเป็นความผิดปกติที่พบได้เสมอในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บทางศีรษะปัญหาหรือความปกพร่องของความสามารถด้านจิตสังคมเป็นปัญหาสำคัญที่พบได้บ่อยในผู้บาดเจ็บที่ศีรษะปัญหาเหล่านี้ได้แก่ พฤติกรรมอ่อนล้า คล้ายอาการขี้เกียจ ปฏิเสธการทำกิจกรรมต่างๆภาวะซึมเศร้าวุ่นวาย ขาดแรงจูงใจ ไม่ยอมพักในเวลาที่ควรจะพัก ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ยากด้านการรับสัมผัสและการเคลื่อนไหว เมื่อศีรษะได้รับบาดเจ็บและผลจากการที่เซลล์สมองและทางเดินประสาทได้รับบาดเจ็บทำให้เกิดความบกพร่องต่อการรับสัมผัสและควบคุมการเคลื่อนไหว ลักษณะของกลุ่มความปกพร่องที่พบได้บ่อยได้แก่ กลุ่มอาการอัมพาตครึ่งซีก หรืออัมพาตครึ่งซีก ๒ ด้าน ความบกพร่องในการทรงท่าและสมดุลความปกพร่องในการประสานสัมพันธ์
การรักษา
1.       เฝ้าสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยตลอดเวลา
2.       งดอาหารเครื่องดื่ม เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการผ่าตัดในกรณีฉุกเฉิน
3.       การรักษาทางยา รวมถึงการให้อาหารและน้ำเกลือทางหลอดเลือด
4.       เอ็กซเรย์กะโหลกศีรษะ และอวัยวะอื่นๆที่บาดเจ็บ
5.       ตรวจดูความผิดปกติอย่างละเอียด
6.       ในกรณีสังสัยว่ามีการบาดเจ็บของกระดูกสันหลังส่วนคอ หรือฐานกระโหลกร้าว อาจต้องมีการตรวจ เอ็กซเรย์เพิ่มเติม เช่น เอ็กซเรย์กระดูกคอ เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมองบริเวณฐานกะโหลก MRI ของกระดุกคอ  หรืออาจฉีดสีตรวจเส้นเลือดเพิ่มเติมได้
7.       ผู้ป่วยที่แพทย์ลงความเห็นว่าได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะมีอาการสมองกระทบกระเทือนภายหลังได้รับการรักษาเบื้องต้น และขอกลับบ้านมีความจำเป็นต้องได้รับการเฝ้าสังเกตุอาการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิดอีกอย่างน้อย 1-2 วันและควรติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการที่เกิดจากโรคลมชักหรือจากการเสื่อมของสมองและเส้นประสาทในระยะยาวซึ่งจะส่งผมลต่อสุขภาพและการฟื้นตัวของผู้ป่วย
 กรณีอาการไม่รุนแรง
1.      ในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะไม่รุงแรงแพทย์ได้ทำการตรวจผู้ป่วยแล้วเห็นว่าการบาดเจ็บที่ศีรษะซึ่งได้รับขณะนี้ยังไม่มีอาการบ่งบอกความรุนแรงที่จะต้องรับไว้ในโรงพยาบาล จึงแนะนำให้ผู้ป่วยพักรักษาตัวต่อที่บ้าน
2.      งดการออกกำลังกายทุกชนิด
3.      หลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
4.      รับประทานอาหารอ่อนและงดดื่มสุราและยาที่ทำให้ง่วงซึมทุกชนิด
5.      ถ้ามีอาการปวดศีรษะเล็กน้อยในระหว่างนี้ท่านยาแก้ปวดตามแพทย์สั่ง
6.      ควรมีผู้ดูแลที่สามารถสังเกตุอาการและเข้าใจวิธีปฏิบัติเพื่อคอยดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด(โดยเฉพาะในเด็ก)
7.      ปลุกผู้ป่วยทุก ๒ ถึง ๔ ชั่วโมง เพื่อประเมินความรู้สึกตัวของผู้ป่วยว่าลดลงหรือไม่

อาการบ่งชี้ว่าควรกลับไปพบแพทย์
1.      ง่วงซึมมากกว่าเดิม หรือไม่รู้ตัวหมดสติ
2.      กระสับกระส่ายมาก พูดลำบาก หรือมีอาการชักกระตุก
3.      กำลังของแขน ขาลดน้อยลงกว่าเดิม
4.      ชีพจรเต้นช้ามาก
5.      มีไข้สูงปวดตุบๆในลูกตา
6.      คลื่นไส้มากอาเจียนติดต่อกันหลายๆครั้ง
7.      ปวดศีรษะรุนแรงโดยไม่ทุเลา
8.      มีน้ำใสหรือน้ำใสปนเลือด ออกจากหู จมูกหรือไหลลงคอ
9.      ปวดต้นคอ ก้มคอลำบาก
1.  วิงเวียนศีรษะมาก หรือมองเห็นภาพพร่า
1.  อาการผิดปกติอื่นๆที่น่าสงสัย

Ref :งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน รพ.อาจสามารถเผยแพร่โดย  : สถานีอนามัย 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น