วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ยาพญายอ


ยาครีม สารละลาย
(สำหรับป้ายปาก) สารละลาย (สำหรับป้ายปาก) (รพ.) โลชัน โลชัน(รพ.) ยาขี้ผึ้ง (รพ.)  ทิงเจอร์ (รพ.)
รูปแบบและความแรง
ยาครีม ที่มีสารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ของพญายอร้อยละ ๔ - ๕ โดยน้ำหนัก (w/w)สารละลาย (สำหรับป้ายปาก) ที่มีสารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ของพญายอในกลีเซอรีนร้อยละ ๒. - ๔ โดยน้ำหนัก (w/w)สารละลาย (สำหรับป้ายปาก) (รพ.) ที่มีสารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ของพญายอในกลีเซอรีนร้อยละ ๒. - ๔ โดยน้ำหนัก (w/w)โลชัน ที่มีสารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ของพญายอร้อยละ ๑.๒๕ โดยน้ำหนัก (w/w)โลชัน (รพ.) ที่มีสารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ของพญายอร้อยละ ๑.๒๕ โดยน้ำหนัก (w/w)ยาขี้ผึ้ง (รพ.) ที่มีสารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ของจากพญายอ ร้อยละ ๔ - ๕ โดยน้ำหนัก (w/w) ทิงเจอร์ (รพ.) ที่มีสารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ของจากพญายอสด ร้อยละ ๑๐ โดยน้ำหนักต่อปริมาตร (w/v)
ตัวยาสำคัญ
สารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ของใบพญายอแห้ง [Clinacanthus nutans (Burm. f.)Lindau]
ข้อบ่งใช้
. ยาครีม บรรเทาอาการของ เริมและงูสวัด
. สารละลาย (สำหรับป้ายปาก) รักษาแผลในปาก (aphthous ulcer) แผลจากการฉายรังสีและเคมีบำบัด
. โลชัน บรรเทาอาการ ผดผื่นคัน ลมพิษ ตุ่มคัน
. ยาขี้ผึ้ง บรรเทาอาการอักเสบ ปวด บวมจากแมลงกัดต่อย
. ทิงเจอร์พญายอ บรรเทาอาการของเริม และงูสวัด
ขนาดและวิธีใช้
ทาบริเวณที่มีอาการ วันละ ๕ ครั้ง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น