วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การห้ามเลือด

การห้ามเลือด

สำหรับภาวะเลือดออกภายนอก ให้ห้ามเลือดดังนี้
สำหรับภาวะเลือดออกภายนอก
  1. ถ้าเลือดออกจากบาดแผล และบาดแผลมีขนาดเล็ก ให้ล้างแผล แล้วใช้นิ้วมือที่สะอาดกดลงตรงปากแผล หรือจะใช้แผ่นผ้าสะอาดวางลงบนบาดแผล แล้วกดให้แน่นประมาณ 5-10 นาที จนเลือดหยุดแล้วจึงหยุดกดและใช้ผ้าพันไว้.
  2. ถ้าเลือดออกจากบาดแผล และบาดแผลมีขนาดใหญ่ ให้ล้างแผลใช้แผ่นผ้าพับปิดปากแผล แล้วใช้ส้นมือหรือฝ่ามือกดให้แน่นประมาณ 10-15 นาที จนเลือดหยุด แล้วรีบส่งโรงพยาบาล.
    ถ้าเลือดไม่หยุดไหล และแผลเกิดที่แขนหรือขา ให้ใช้ส้นมือกดที่หลอดเลือดแดงที่แขนพับ (ดูรูป) หรือที่ขาหนีบ (ดูรูป) จนเลือดพอไหลซึมๆ อย่ากดจนแขนหรือขาซีดหรือเขียว แล้วรีบส่งโรงพยาบาล.

    การกดแขนพับเพื่อห้ามเลือดที่ไหลออกจากบาดแผลใหญ่ใต้ศอกลงไป
    การกดแขนพับเพื่อห้ามเลือดที่ไหลออกจากบาดแผลใหญ่ใต้ศอกลงไป

    การกดขาหนีบเพื่อห้ามเลือดที่ขา
    การกดขาหนีบเพื่อห้ามเลือดที่ขา


    ถ้าเป็นบาดแผลที่อวัยวะถูกตัดขาด ให้ห้ามเลือดเช่นเดียวกับข้างต้นและนำอวัยวะส่วนที่ถูกตัดขาดใส่ถุงพลาสติกที่สะอาดและแห้ง (ห้ามล้างอวัยวะที่ถูกตัดขาด) แล้วปิดปากถุงให้แน่น แล้วแช่ถุงนั้นในถุงพลาสติกหรือภาชนะที่ใหญ่กว่าที่มีน้ำผสมน้ำแข็งอยู่ แล้วนำส่งโรงพยาบาลพร้อมผู้ป่วย.
  3. ถ้าเลือดออกตามไรฟัน หรือเหงือก ให้อมน้ำเย็นหรือน้ำแข็งจนเลือดหยุด/ออกน้อยลง แต่ถ้าเลือดออกตรงที่ฟันหลุด/ถอนฟัน ให้ใช้ก้อนผ้า (ผ้าชิ้นเล็กๆ ม้วนเป็นก้อนกลม) วางลงตรงจุดที่เลือดออกแล้วกัดไว้ให้แน่นประมาณ 10-15 นาทีหรือนานกว่านั้น จนเลือดหยุด.
    ถ้าเลือดไม่หยุดไหล หรือไหลออกมาใหม่หลังหยุดไปแล้ว ให้ทำแบบเดิมและไปพบหมอฟัน.
  4. ถ้าเลือดออกจากจมูกหรือตกไปหลังคอหอย แล้วขากออกมาเป็นเลือดที่เรียกว่า “เลือดกำเดา” ให้นั่งพัก ก้มศีรษะไปข้างหน้า บีบจมูก (ส่วนที่ไม่ใช่กระดูกแข็ง) ให้แน่นอย่างน้อย 5-10 นาที จนเลือดหยุด ระหว่างนั้นให้หายใจทางปาก ถ้าเลือดตกไปที่คอหอยข้างในให้บ้วนออกมา ถ้ามีน้ำแข็งหรือผ้าเย็นให้ใช้โปะบริเวณจมูก หลัง 5-10 นาที ค่อยคลายมือที่บีบจมูก ถ้ายังมีเลือดออกให้บีบใหม่ 10-15 นาที ถ้ายังมีเลือดออกอีกให้ไปที่โรงพยาบาล.

    เลือดกำเดา
    เลือดกำเดา
  5. ถ้าเลือดออกจากก้น (ทวารหนัก) เป็นเลือดสดๆ หยดออกมาเมื่ออุจจาระแข็งหรือเบ่งอุจจาระมาก ซึ่งมักเกิดจากริดสีดวงทวารไม่ต้องตกใจ ให้ขมิบก้นไว้ และนั่งทับก้อนผ้าที่วางไว้ตรงปากก้น (ปากทวารหนัก) แล้วไปโรงพยาบาล.
หมายเหตุ: ควรใส่ถุงมือยางหรือหาถุงพลาสติกหุ้มมือตนเองก่อนสัมผัสเลือดผู้บาดเจ็บ ห้ามให้อาหาร น้ำ หรือยาแก่ผู้บาดเจ็บที่เสียเลือดมาก ข้ามขันชะเนาะเพื่อห้ามเลือด.

สำหรับภาวะเลือดออกภายใน
การห้ามเลือดทำได้ยาก หรืออาจทำไม่ได้เลย แต่สามารถช่วยปฐมพยาบาล ได้ดังนี้
  1. ให้ผู้ป่วยพักในท่าที่สบายที่สุด แต่ถ้าหน้ามืดเป็นลม ควรจัดให้นอนราบ ไม่หนุนหมอน และใช้หมอนหนุนขาทั้ง 2 ข้างให้สูงขึ้น.
  2. ปลอบใจให้ผู้ป่วยไม่ตื่นเต้นตกใจ และสงบ เลือดจะออกน้อยลง.
  3. พัดโบกลมให้ผู้ป่วยถ้าผู้ป่วยไม่หนาว.
  4. ให้ดมยาหอม/ยาดมอื่นๆ ที่ทำให้ชื่นใจ.
  5. เก็บเลือดหรือสิ่งอื่นที่ผู้ป่วยไอ/อาเจียน/ถ่ายออกมาไปให้หมอดูด้วย.
  6. ห้ามให้อาหารและน้ำทางปาก จนกว่าหมอจะอนุญาต.
  7. ถ้าไอเป็นเลือด ให้ผู้ป่วยพยายามไอเบาๆ (กระแอม) แทนการไอแรงๆ จะทำให้เลือดออกน้อยลง.
ถ้าบริเวณที่กระดูกหักบวมขึ้นมาก แสดงว่ามีเลือดออกภายในบริเวณนั้น พยายามให้ส่วนนั้นอยู่นิ่งๆ ถ้าตรึง/ดาม/รัดได้ ควรจะทำทันที แต่ต้องระวังไม่ให้การตรึง/ดาม/รัด ทำให้ผู้ป่วยเจ็บปวดมากขึ้น หรือส่วนปลาย (ต่ำจากที่ตรึง/ดาม/รัด) เกิดอาการซีดขาว/เขียว/เย็น/บวม/ชาขึ้น ถ้าเป็นเช่นนั้น ต้องคลายสิ่งที่รัดออกจากส่วนปลายหายซีดขาว/เขียว/เย็น/บวม/ชา ทันที.

บทความดีๆจาก http://www.doctor.or.th/doctorme/first-aid/12516

1 ความคิดเห็น:

  1. แนะนำทางเลือกใหม่
    ยับยั้งทำลายเชื้อไวรัส และเซ็ลล์มะเร็ง เชื้อ Hiv หูดหงอนไก่ สเก็ดเงิน ริดสีดวง เบาหวาน ไต ไทรอย ไวรัสตับอักเสบบี อัมพฤกษ์ อัมพาต หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ภูมิแพ้สอบถามเพิ่มเติม tel. 0959279523 ID line. Aofaudio0502
    สอบถามผ่านไลน์ก่อนได้ครับ อย่ามัวแต่อายครับสอบถามมาก่อนได้

    ตอบลบ