วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สุขภาพจิต คืออะไรเอ่ย

       
สุขภาพจิต

    สวัสดีครับท่านผู้ติดตาม บทความสุขภาพทุกท่าน บล็อก บทความสุขภาพแห่งนี้ก็มีอายุครบ ขวบกว่าๆมานานแล้วหละ แต่ทางทีมงานบทความสุขภาพ มิได้มีโอกาส จัดหมวดหมู่บทความซักที หลังจากมีเวลาว่างจากการทำงานก็ได้มานั่งจัดหมวดหมู่บทความสุขภาพ เพื่อให้ท่านผู้ ติดตาม บทความสุขภาพ ได้สะดวกในการเข้าใช้งาน บล็อกแห่งนี้มากขึ้น วันนี้ทางทีมงานก็ขอ จัดหมวดหมู่ชุดแรกก็คือ หมวดหมู่ สุขภาพจิตถามว่าทำไมถึงจัดหมวดหมู่สุขภาพจิต เป็นหมวดหมู่แรกหละ จริงๆที่มาที่ไปของ หมวดหมู่สุขภาพจิตก็คือ จากการทำงานนี่แหละครับ เท่าๆที่ดูในสภาพสังคม บ้านเมืองของเราเดียวนี้ วุ่นวาย มีแต่ข่าวร้ายๆ ทำให้ทางทีมงานเล็งเห็นว่าสภาพปัญหาทุกๆวันนี้ล้วนมีผลต่อสุขภาพจิตของเราทั้งนั้นก็เลยอยากรวมรวมข้อมูลและเผยแพร่ข้อมูลด้านสุขภาพจิตก่อน หมวดอื่นๆครับผม ก่อนอื่นเรามารู้จัก ความหมายของคำว่า สุขภาพจิต” กันก่อนเลยครับผม จริงๆแล้วความหมายของคำว่า สุขภาพจิต  ก็มีหลายๆท่านให้ความหมายไว้ ชุดแรกผมขอยกมาจาก วิกิพีเดียก่อนเลยครับ 
        คือ ความสามารถของบุคคลที่จะปรับตัวให้มีความสุขอยู่กับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ดี มีสัมพันธภาพอันดีงามกับบุคคลอื่นและดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความสมดุลอย่างสุขสบาย รวมทั้งสนองความสามารถของตนเองในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงนี้ได้โดยไม่มีข้อขัดแย้งภายในจิตใจ ทั้งนี้ คำว่า สุขภาพจิตมิได้หมายความเฉพาะเพียงแต่ความปราศจากอาการของโรคประสาทและโรคจิตเท่านั้น จะเห็นได้ว่าสุขภาพจิตเกี่ยวข้องกับการนึกคึด ความรู้สึก และการกระทำของบุคคล ในบางครั้งผู้ที่มีสุขภาพจิตปกติ อาจจะมีสุขภาพดีขึ้นหรือเลวลงก็ได้ คนที่มีสุขภาพจิตดี จะสามารถปรับตัวให้เข้ากับคนอื่นๆได้อย่างดี แม้บางอาจขัดแย้งหรือมีอารมณ์โกรธ หรือมีปัญหาชีวิต แต่ก็สามารถปรับอารมณ์และเผชิญกับปัญหาต่างๆได้เป็นอย่างดีโดยไม่เสียดุลทางจิตใจ จึงอาจกล่าวได้ว่าสุขภาพจิก็คือความมั่นคงทางใจนั่นเอง
       
        และมีอีกหลายท่านได้ให้ความหมายอีก ผมขอยกมาจาก กรมสุขภาพจิตหนะครับผมความหมายของสุขภาพจิต
        องค์การอนามัยโลก (
WHO in Hogarth 1978 : 236) ให้ความหมายของสุขภาพจิตว่า สุขภาพจิต” ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยด้านชีวะและสังคม เป็นสภาพที่ไม่คงที่ขึ้นอยู่กับระดับและความผันแปรต่าง ๆสุขภาพจิตเป็นความสามารถของบุคคลในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น และความสามารถที่อยู่ได้หรือทำสิ่งที่สร้างสรรค์ได้ในสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่เปลี่ยนแปลง เมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้นในใจบุคคลที่มีสุขภาพจิตดี ก็จะสามารถปรับจิตใจให้เกิดความพอใจในผลที่ได้รับ และพร้อมที่จะเผชิญปัญหาแทนที่จะหลีกหนีจากปัญหาหรืออุปสรรคนั้น ๆ นอกจากนี้บุคคลที่มีสุขภาพจิตดีและสามารถใช้ความรู้สึกขัดแย้งในใจต่าง ๆ เป็นแรงผลักดันให้สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
        สุรางค์ จันทร์เอม (2527 : 2) กล่าวว่า สุขภาพจิต คือ สุขภาพจิตใจที่ที่ของมนุษย์ หรือการมีสุขภาพจิตที่ดี เช่น มีจิตใจเบิกบานแจ่มใสอยู่เสมอ ไม่มีความวิตกกังวลใด ๆ มีแนวคิดที่ถูกต้อง
วิฑูร แสงสิงแก้ว (2527 : 44) กล่าวว่า ผู้ที่มีสุขภาพจิตดีมิได้หมายถึง ผู้ที่มิได้มีสภาพจิตแปรปรวนอย่างเดียว แต่หมายถึง ผู้ที่ปรับสภาพจิตใจให้มีความสมดุลย์กับสิ่งแวดล้อมได้ตามวัยของชีวิต สุขภาพจิตนี้อาจเปรียบได้กับความสุขทางใจ ซึ่งเป็นนามธรรมหรือมีคุณค่าทางคุณภาพมากกว่าคุณค่าทางปริมาณ
ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ (2530 : 6) ให้ความหมายสุขภาพจิตว่า สุขภาพจิต หมายถึง ความสมบูรณ์ทางจิตใจของมนุษย์ ซึ่งช่วยให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข ปราศจากโรคจิต โรคประสาท มีความสามารถในการปรับตัวต่อสังคมได้อย่างเหมาะสม มีความมั่นคงทางจิตใจ มีสมรรถภาพในการทำงาน มีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น และสามารถทำประโยชน์ให้แก่ตนเองและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
        ฝน แสงสิงแก้ว (2532 : 289) กล่าวว่า สุขภาพจิต หมายถึง สภาพชีวิตที่เป็นสุข ผู้มีอารมณ์มั่นคง สามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมที่เปลี่ยนแปลงมาก ๆ ได้ มีสมรรถภาพในการทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยความพอใจ
        กองสุขภาพจิต กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความหมายของสุขภาพจิตไว้ว่า สุขภาพจิต หมายถึง สภาพความสมบูรณ์ของจิตใจซึ่งดูได้จากความสามารถในเรื่องการกระชับมิตร พิชิตอุปสรรค และรู้จักพอใจ ดังนี้
การกระชับมิตร หมายถึง ความสามารถในการผูกมิตรและรักษาความเป็นมิตรไว้ให้ได้ รวมทั้งความสามารถในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่นและเป็นสุข
พิชิตอุปสรรค หมายถึง ความสามารถในการแก้ปัญหาและปรับตัวให้อยู่ได้ หรือก่อให้เกิดประโยชน์ได้ในท่ามกลางความเป็นอยู่และความเปลี่ยนแปลงของสังคม
รู้จักพอใจ หมายถึง ความสามารถในการทำใจให้ยอมรับในสิ่งที่อยากได้ อยากเป็นเท่าที่ได้ ที่เป็นอยู่จริงได้ด้วยความสบายใจ (กรมการแพทย์ มาตรฐานบริการสุขภาพจิต : 2533 : 1พิมพ์ดีด)
สรุปได้ว่า สุขภาพจิตเป็นเรื่องที่มีความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อม โดยมีความรู้สึกหรือสภาวะทางจิตใจเกี่ยวข้องอยู่ด้วย การมีสุขภาพจิตที่ดี คือ การสามารถใช้กลไกในการปรับตัวที่ถูกต้อง สามารถปรับอารมณ์ความรู้สึกสู่สภาวะสมดุลย์ได้โดยที่ตนเองและสิ่งแวดล้อมไม่เดือดร้อน
ผู้ที่มีสุขภาพจิตที่ดี มีลักษณะดังนี้

1. เกี่ยวกับตนเอง จะพึงพอใจในการกระทำที่พิจารณาว่าดีว่าถูกต้องแล้ว เข้าใจตนเองดี แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของตนเองได้ตลอดจนสามารถควบคุมอารมณ์ได้
2. เกี่ยวกับบุคคลอื่นย่อมยอมรับฟังความเห็นของผู้อื่น นับถือและมีความรักผู้อื่นอย่าง
จริงใจ มีความไว้วางใจผู้อื่น และทำให้ประโยชน์ให้แก่หมู่คณะตลอดจนรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของหมู่คณะ
3. เกี่ยวกับความสามารถในการดำเนินชีวิต ผู้มีสุขภาพจิตดีย่อมแก้ปัญหาของตนได้ 
มีความมุ่งหมายในชีวิต มีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน และรู้จักใช้ความสามารถของตนให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น (สุรางค์ จันทร์เอม 2527 : 14 – 15 )
และหัวข้อต่อท้ายจากนี้ต่อไป จะเป็นหัวข้อที่ทางทีมงานบทความสุขภาพ ได้รวมรวมไว้เกี่ยวกับ สุขภาพจิตทั้งหมด

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น