โรคมือ เท้า ปาก เกิดจากเชื้อไวรัสลำไส้หรือเอนเทอโรไวรัสหลายชนิด พบได้บ่อยในกลุ่มเด็กทารกและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โรคเกิดประปรายตลอดปี แต่จะเพิ่มมากขึ้นในหน้าฝน ซึ่งอากาศมักเย็นและชื้น โดยทั่วไปโรคนี้มีอาการไม่รุนแรง
การแพร่ติดต่อของโรค
การติดต่อส่วนใหญ่เกิดจากได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ปากโดยตรง โรคแพร่ติดต่อง่ายในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย โดยเชื้อไวรัสอาจติดมากับมือหรือของเล่นที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก น้ำจากตุ่มพองและแผล หรืออุจจาระของผู้ป่วย และอาจเกิดจากการไอจามรดกัน ในระยะที่เด็กมีอาการทุเลาหรือหายป่วยแล้วประมาณ 1 เดือน จะพบเชื้อในอุจจาระได้ แต่การติดต่อในระยะนี้จะเกิดขึ้นได้น้อยกว่า
ประวัติความเป็นมา
พ.ศ. 2500 มีรายงานการระบาดของกลุ่มอาการไข้ ซึ่งพบร่วมกับตุ่มนํ้าใสในช่องปาก มือและเท้าในผู้ป่วยเด็กที่เมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา โดยพบสาเหตุจากเชื้อ Coxsackie virus A16 (Cox A16)
พ.ศ. 2502 พบการระบาดของกลุ่มอาการเช่นเดียวกันในเมือง Bermingham ประเทศอังกฤษ และได้มีการเรียกกลุ่มอาการนี้ ว่า Hand-Foot-and Mouth Disease (HFMD) หลังจากนั้นมีรายงานการระบาดจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก
ระบาดวิทยา
โรค มือ เท้า ปาก มีการระบาดแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ในประเทศเขตหนาว มักพบในช่วงฤดูร้อน และต้นฤดูใบไม้ ร่วง ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม แต่ในเขตร้อนชื้นรวมทั้งประเทศไทยพบได้ตลอด ทั้งปี แต่จะชุกในช่วงฤดูฝนและช่วงที่มีอากาศร้อนชื้น เชื้อที่พบเป็นสาเหตุของโรคมือ เท้า ปาก แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ และแต่ละการระบาด ส่วนใหญ่ที่พบเชื้อ Coxsackie virus A16, Enterovirus 71และ Echovirusแต่เชื้อที่พบในการระบาดแต่วผู้ป่วยมักมีอาการรุนแรง พบผู้เสียชีวิตและพิการตามมาได้บ่อยคือ Enterovirus 71 ในประเทศไทย โรคมือ เท้า ปาก มีสาเหตุจาก EV71 ประมาณร้อยละ 15-30 ซึ่งเชื้อ EV71 นั้นมี โอกาสก่อให้เกิดอาการรุนแรงในผู้ป่วย
การติดต่อ
โรคมือ เท้า ปาก ติดต่อกันได้ง่ายพอสมควร โดย
1. การสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งจากจมูก , ลําคอ และนํ้าจากในตุ่มใส (respiratory route)
2. อุจจาระของผู้ป่วยซึ่งมีเชื้อไวรัสอยู่ (fecal - oral route ) ช่วงที่แพร่กระจายมากที่สุด คือ ในสัปดาห์แรกที่ผู้ป่วยมีอาการ และจะยังแพร่เชื้อได้จนกว่ารอยโรคจะหายไป แต่ก็ยังพบเชื้อในอุจจาระผู้ป่วยต่อได้อีกประมาณ 2-3 สัปดาห์ เชื้อเอนเทอโรไวรัสสามารถทนสภาวะกรดในทางเดินอาหารมนุษย์ได้ และมีชีวิตอยู่ในอุณหภูมิห้องได้ 2-3 วัน โรคนี้ไม่สามารถติดติอจากคนสู่สัตว์ หรือจากสัตว์สู่คนได้
พยาธิวิทยา
โรค มือ เท้า ปาก เป็นหนึ่งในกลุ่มอาการซึ่งเกิดจากเชื้อกลุ่ม enterovirus ซึ่งอยู่สายพันธุ์ ของ T6N picornavirus เชื้อที่พบเป็นสาเหตุบ่อยที่สุดโดยทั่วไป คือ coxsackie A16 รองลงมาคือ enterovirus 71 มักพบในการระบาด ส่วนในรายที่พบประปราย พบสาเหตุจากเชื้อหลายชนิด ได้แก่ coxsackie virus A4-10, B2 และ B5
อาการและอาการแสดง
อาการเริ่มต้น คือ มักเป็นไข้ที่ไม่มีอาการอะไรในช่วงแรก โดยจะมีระยะฟักตัวประมาณ 3-6 วัน มักจะเริ่มจากการมีไข้ต่ำๆ ประมาณ 38-39 องศา และมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว ระยะนี้จะมีระยะเวลาประมาณ 1-2 วัน จากนั้นจะเริ่มมีอาการเจ็บปาก ตรวจร่างกายจะพบมีรอยโรคในบริเวณปาก มือ และเท้าตามมา อาการแสดงที่พบ มักจะมีอาการแสดงในหลายระบบ เช่น
1) ระบบทางเดินหายใจ อาจมีอาการเหมือนไข้หวัด ไอ มีน้ำมูกใส เจ็บคอ
2) ทางผิวหนัง
3) ทางระบบประสาท เช่น สมอง เยื่อหุ้มสมอง หรือเนื้อสมองอักเสบ
4) ทางระบบทางเดินอาหาร เช่น อาการท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้ำเล็กน้อย ปวดหัว อาเจียน
5) ทางตา มักพบเยื่อบุตาอักเสบ (chemosis and conjuntivitis) และ
6) ทางหัวใจ เช่นสามารถทำให้เกิดกล้ามเนื้อหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่า อาการอาจมีตั้งแต่อาการเล็กน้อยไปจนถึงอาการหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงอาการที่พบบ่อยเช่น
รอยโรคบริเวณปาก
พบในผู้ป่วยทั้งหมด มีรอยโรคจํานวน 5-10 แห่ง พบได้ทุกบริเวณในปากแต่ที่พบได้บ่อย คือ เพดานปาก ลิ้น และเยื่อบุกระพุ้งแก้ม รอยโรคระยะเริ่มต้น ลักษณะเป็นรอยสีแดง อาจนูนเล็กน้อย ขนาด 2-8 มิลลิเมตร จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นตุ่มนํ้าสีเทาขนาดเล็กขอบแดง ช่วงที่รอยโรคเป็นตุ่มนํ้าจะสั้น จึงมักตรวจไม่พบรอยโรคในระยะนี้ แต่ก็มักพบลักษณะเป็นแผลตื้นๆ สีเหลืองถึงเทาของแดง ซึ่งอาจจะมารวมกันเป็นรอยโรคใหญ่ได้
รอยโรคที่ผิวหนัง
อาจเกิดขึ้นพร้อมรอยโรคที่ปาก หรือหลังจากนั้นเล็กน้อย จํานวนตั้งแต่ 2-3 แห่งไปจนถึง 100 แห่ง พบที่มือบ่อยกว่าเท้า ลักษณะเป็นรอยแดงๆ อาจนูนเล็กน้อยขนาด 2-10 มิลลิเมตร ตรงกลางสีเทา บางรอยโรคมีลักษณะเป็นตุ่มน้ำใสขอบแดง มีกระจายขนานไปกับแนวของผิวหนัง อาจเจ็บหรือไม่ก็ได้ หลังจากนั้น 2-3 วัน จะค่อยๆเริ่มตกสะเก็ด และค่อยๆ หายไปภายใน 7-10 วัน โดยทิ้งรอยแผลเป็นให้เห็น บริเวณอื่นๆ ที่อาจพบรอยโรคได้ เช่นกัน คือ ก้น แขน ขา และอวัยวะสืบพันธุ์ ในเด็กทารกอาจพบกระจายทั่วตัวได้
ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อย
โดยทั่วไปโรคมือ เท้า ปาก จัดว่ามีอาการน้อย โดยมากมักมีเพียงไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว และเจ็บปาก แต่ ในผู้ป่วยบางรายอาจพบภาวะแทรกซ็อนที่รุนแรงได้ โดยเฉพาะจากการติดเชื้อ enterovirus 71 ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง แบ่งเป็น
1. ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท
1.1 ก้านสมองอักเสบ (brainstem encephalitis)
1.2 สมองและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (meningoencephalitis)
1.3 เยื่อหุ้มสมองอักเสบที่ไม่ใช้การติดเชื้อแบคทีเรีย (aseptic meningitis)
1.4 กล้ามเนื้ออ่อนแรงคล้ายโปลิโอ (poliomyelitis like paralysis)
2. ภาวะแทรกซ้อนระบบปอด เช่น ปอดอักเสบ
3. ภาวะแทรกซ้อนระบบหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบโดยผู้ป่วยจะมีไข้นำมาก่อนประมาณ 3-6 วัน โดยมักไข้สูง หัวใจเต้นเร็ว และมักมีอาการทางระบบ ประสาทนำมาก่อน ต่อมามีอาการหายใจล้มเหลวอย่างรวดเร็ว และมีปอดบวมน้ำ (pulmonary e
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยโรคมือเท้าปากโดยทั่วไปใช้อาการและอาการแสดงเป็นสําคัญ (clinical diagnosis) โดย ตรวจร่างกายพบรอยโรคจําเพาะที่บริเวณมือ เท้า ปาก ร่วมกับมีไข้ การส่งตรวจรอยโรคที่ผิวหนังโดยวิธีทางพยาธิวิทยาจะพบเม็ดเลือดขาวชนิด neutrophil และ lymphocyte เพิ่มขึ้น แต่ จะไม่พบ multinucleated giant cell หรือ inclusion body สำหรับในกรณีที่ต้องการทราบชนิดของเชื้อไวรัสที่ก่อโรค สามารถทำได้โดยการแยกเชื้อไวรัส หรือตรวจ ร่องรอยการติดเชื้อจากนํ้าเหลือง สําหรับประเทศไทยใช้วิธี micro- neutralization ส่วนการส่งตรวจอื่นที่ส่งได้คือ
- การส่ง throat swab โดยส่งตรวจที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ค่าส่งตรวจประมาณ 900 บาท/specimen
- การเก็บอุจจาระ (stool) ส่งตรวจที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เช่นเดียวกัน เพื่อตรวจด้วยการเพาะเชื้อหรือ serology
- การส่งน้ำไขสันหลัง (CSF) ตรวจทาง serology, PCR technique
การรักษา
โรคมือ เท้า และปาก หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน เป็นโรคที่สามารถหายได้เอง โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 7 วัน การรักษาจึงเป็นเพียงการประคับประคองและบรรเทาอาการ โดยเฉพาะการลดไข้ และลดอาการเจ็บปวด จากแผลในปาก โดยอาจใช้ยาชาป้ายบริเวณที่เป็นแผลก่อนรับประทานอาหาร ในกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อนให้รักษาตามอาการเป็นส่วนใหญ่ หลังจากการติดเชื้อผู้ป่วยจะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสที่ก่อโรค แต่อาจเกิดโรคมือ เท้า ปาก ซ้ำได้จาก enterovirus ตัวอื่นๆควรแนะนําผู้ปกครองสังเกตอาการที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ไข้สูง ซึม อาเจียนบ่อยๆ ไม่ยอมรับประทานอาหารและนํ้า ซึ่งควรพาบุตรหลานมาพบแพทย์
การป้องกัน
ที่สำคัญที่สุดคือการแยกผู้ป่วยที่เป็นโรคออกจากกลุ่มเพื่อนในโรงเรียน สถานเลี้ยงเด็ก โดยเน้น contact isolation เป็นหลัก โดยมีรายละเอียดดังนี้
- แยกเด็กป่วยไม่ให้ร่วมกิจกรรมกับเด็กอื่น เช่น ว่ายนํ้าไปโรงเรียน ใช้สนามเด็กเล่น เป็นเวลา 1 สัปดาห์
- ผู้ดูแลเด็กหมั่นล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะหลังเปลี่ยนผ้าอ้อม หรือ สัมผัสกับน้ำมูก และนํ้าลายของเด็ก
- ทําความสะอาดพื้น ห้องน้ำ สุขา เครื่องใช้ ของเล่น สนามเด็กเล่น ตลอดจนเสื้อผ้าที่อาจปนเปื่อนเชื้อ ด้วยนํ้ายาฆ่าเชื้อที่ใช้ทั่วไปภายในบ้าน
- มีรายงานในโกปกติที่ติดเชื้อแล้วไม่มีอาการ อาจมีเชื้อในอุจจาระได้ 6-12 สัปดาห์
ติดต่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม
สถานบริการสาธารณสุขทุกแห่ง
ศูนย์ปฏิบัติการกรมควบคุมโรค โทร. 0-2590-3333
สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค โทร. 0-2590-3194
แจ้งการระบาดของโรค
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค โทร. 0-2590-1882
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น