บทความสุขภาพวันนี้ขอนำเสนอเรื่อง
โรคหลอดเลือดสมอง
ประชาชนทั่วไปมักเรียกว่า โรคอัมพฤกษ์หรืออัมพาต โรคนี้แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ คือ๑. โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน
๒. โรคหลอดเลือดสมองแตก
โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน
อาจเกิดจากการตีบตันที่หลอดเลือดสมองเองหรือจากการมีลิ่มเลือดหลุดจากที่อื่น เช่นหัวใจและจากหลอดเลือดที่บริเวณคอมาอุดตันหลอดเลือดสมอง ทำให้สมองบางส่วนขาดเลือดหรือมีเนื้อสมองตาย
โรคหลอดเลือดสมองแตก
เกิดจากการแตกของหลอดเลือดสมอง ทำให้มีเลือดออกมาคั่งและทำลายเนื้อสมองบริเวณนั้น นอกจากนี้ อาจกดเบียดสมองส่วนที่อยู่ใกล้เคียง ทำให้สมองส่วนนั้นทำหน้าที่ไม่ได้ตามปกติ จึงเกิดอาการอัมพฤกษ์หรืออัมพาต
เกิดจากการแตกของหลอดเลือดสมอง ทำให้มีเลือดออกมาคั่งและทำลายเนื้อสมองบริเวณนั้น นอกจากนี้ อาจกดเบียดสมองส่วนที่อยู่ใกล้เคียง ทำให้สมองส่วนนั้นทำหน้าที่ไม่ได้ตามปกติ จึงเกิดอาการอัมพฤกษ์หรืออัมพาต
สาเหตุ ของโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน
๑. หลอดเลือดแข็ง เกิดจากการเสื่อมของผนังหลอดเลือด มีไขมันและหินปูนมาจับ พบได้ทั้งในหลอดเลือดสมองเองและหลอดเลือดใหญ่ที่คอ มักพบในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง หรือผู้สูบบุหรี่
๒. โรคหัวใจที่มีลิ่มเลือดหลุดไปอุดตันหลอดเลือดสมอง เช่น โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
๓. หลอดเลือดสมองอักเสพ
๔. โรคเลือดบางชนิด
สาเหตุ โรคหลอดเลือดสมองแตก
๑. โรคความดันโลหิตสูง
๒.หลอดเลือดสมองผิดปกติแต่กำเนิด
อาการของโรคหลอดเลือดสมอง
สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดของร่างกาย ทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานทุกระบบ เช่น การเคลื่อนไหว ระบบประสาทสัมผัสต่างๆ เป็นต้น สมองในตำแหน่งต่างๆ ทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นอาการของโรคหลอดเลือดสมอง จึงเกิดขึ้นได้หลายแบบขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิดโรค หากสมองส่วนใดส่วนหนึ่งสูญเสียการทำงานไป ก็จะเกิดอาการผิดปกติของร่างกายในระบบที่สมองบริเวณนั้นควบคุมอยู่ อาการมักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหรือทันทีทันใด เนื่องจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยงทันทีแต่ในบางครั้งอาจมีอาการแบบเป็นๆหายๆ หรือค่อยๆ เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ในระยะเวลาอันสั้น
๑. หลอดเลือดแข็ง เกิดจากการเสื่อมของผนังหลอดเลือด มีไขมันและหินปูนมาจับ พบได้ทั้งในหลอดเลือดสมองเองและหลอดเลือดใหญ่ที่คอ มักพบในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง หรือผู้สูบบุหรี่
๒. โรคหัวใจที่มีลิ่มเลือดหลุดไปอุดตันหลอดเลือดสมอง เช่น โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
๓. หลอดเลือดสมองอักเสพ
๔. โรคเลือดบางชนิด
สาเหตุ โรคหลอดเลือดสมองแตก
๑. โรคความดันโลหิตสูง
๒.หลอดเลือดสมองผิดปกติแต่กำเนิด
อาการของโรคหลอดเลือดสมอง
สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดของร่างกาย ทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานทุกระบบ เช่น การเคลื่อนไหว ระบบประสาทสัมผัสต่างๆ เป็นต้น สมองในตำแหน่งต่างๆ ทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นอาการของโรคหลอดเลือดสมอง จึงเกิดขึ้นได้หลายแบบขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิดโรค หากสมองส่วนใดส่วนหนึ่งสูญเสียการทำงานไป ก็จะเกิดอาการผิดปกติของร่างกายในระบบที่สมองบริเวณนั้นควบคุมอยู่ อาการมักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหรือทันทีทันใด เนื่องจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยงทันทีแต่ในบางครั้งอาจมีอาการแบบเป็นๆหายๆ หรือค่อยๆ เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ในระยะเวลาอันสั้น
อาการของโรคหลอดเลือดสมอง เช่น
๑. อ่อนแรงของร่างกายครึ่งซีก
๒. ชาครึ่งซีก
๓. เวียนศีรษะ ร่วมกับเดินเซ
๔. ตามัวหรือมองเห็นภาพซ้อน
๕. พูดไม่ชัดลิ้นแข็ง
๖. ปวดศีรษะ อาเจียน
๗. ซึมไม่รู้สึกตัว
สัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง
๑. อ่อนแรงครึ่งซีก
๒. เวียนศีรษะหรือหมดสติ
๓. ปวดหัวรุนแรงเฉียบพลัน
๔. พูดไม่ชัดหรือลิ้นแข็ง
๕. ตามัวหรือเห็นภาพซ้อน
ควรไปพบแพทย์โดยด่วนๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
๑. โรคความดันโลหิตสูง เพิ่มความเสี่ยง ๓-๑๗ เท่า
๒. โรคเบาหวานความเสี่ยงเพิ่ม ๓ เท่า
๓. การสูบบุหรี่ เพิ่มความเสี่ยง ๒ เท่า
๔. ไขมันในเลือดสูงเพิ่มความเสี่ยง ๑.๕ เท่า
๕. โรคหัวใจ
๖. ขาดการออกกำลังกาย
๗. สูงอายุ
การป้องกันโรค
๑. ตรวจวัดความดันโลหิตอย่างน้อยปีละครั้ง
๒. งดสูบบุหรี่
๓. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
๔. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
๕. งดอาหารรสเค็มและไขมันสูง
๖. ควรได้รับการตรวจร่างกายจากแพทย์เป็นประจำ
๗. กินยาป้องกันการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือดตามแพทย์สั่ง
๑. อ่อนแรงครึ่งซีก
๒. เวียนศีรษะหรือหมดสติ
๓. ปวดหัวรุนแรงเฉียบพลัน
๔. พูดไม่ชัดหรือลิ้นแข็ง
๕. ตามัวหรือเห็นภาพซ้อน
ควรไปพบแพทย์โดยด่วนๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
๑. โรคความดันโลหิตสูง เพิ่มความเสี่ยง ๓-๑๗ เท่า
๒. โรคเบาหวานความเสี่ยงเพิ่ม ๓ เท่า
๓. การสูบบุหรี่ เพิ่มความเสี่ยง ๒ เท่า
๔. ไขมันในเลือดสูงเพิ่มความเสี่ยง ๑.๕ เท่า
๕. โรคหัวใจ
๖. ขาดการออกกำลังกาย
๗. สูงอายุ
การป้องกันโรค
๑. ตรวจวัดความดันโลหิตอย่างน้อยปีละครั้ง
๒. งดสูบบุหรี่
๓. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
๔. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
๕. งดอาหารรสเค็มและไขมันสูง
๖. ควรได้รับการตรวจร่างกายจากแพทย์เป็นประจำ
๗. กินยาป้องกันการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือดตามแพทย์สั่ง
การประเมินปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองด้วยตนเอง
การเรียนรู้ปัจจัยเสี่ยงของโรคจะช่วยในการวางแผน เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ปัจจัยเสี่ยง หมายถึง ถ้าบุคคลใดมีปัจจัยเหล่านี้อยู่หรือได้รับปัจจัยเหล่านี้เป็นเวลานาน จะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้มากกว่าคนปกติ
ขอให้ตรวจสอบปัจจัยเสี่ยง โดยตอบคำถามต่อไปนี้
๑. ท่านอายุมากกว่า ๔๐ หรือไม่
๒. ท่านเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่
๓. ท่านสูบบุหรี่หรือไม่
๔. ท่านเป็นเบาหวานหรือไม่
๕. ท่านมีไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดสูงหรือไม่
๖. ท่านเป็นโรคหัวใจหรือไม่
๗. ท่านมีกิจกรรมทางกาย เช่น เดินหรือออกกำลังกายอย่างน้อย ๓๐ นาทีต่อครั้ง อย่างน้อย ๓ ครั้งต่ออาทิตย์หรือไม่
๘. ท่านชอบอาหารประเภททอด ของมัน หรืออาหารรสเค็มหรือไม่
๙. ท่านดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า ๒ แก้วต่อวันหรือไม่
๑๐. ท่านมีญาติ เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง ปู่ ย่า ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือไม่
ถ้าท่านตอบว่ามีหรือใช่ข้อใดข้อหนึ่ง แสดงว่าท่านมีความเสี่ยงและท่านตอบว่ามีหรือใช่มากกว่าหนึ่งข้อ แสดงว่าท่านยิ่งมีความเสียงมากขึ้น
การเรียนรู้ปัจจัยเสี่ยงของโรคจะช่วยในการวางแผน เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ปัจจัยเสี่ยง หมายถึง ถ้าบุคคลใดมีปัจจัยเหล่านี้อยู่หรือได้รับปัจจัยเหล่านี้เป็นเวลานาน จะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้มากกว่าคนปกติ
ขอให้ตรวจสอบปัจจัยเสี่ยง โดยตอบคำถามต่อไปนี้
๑. ท่านอายุมากกว่า ๔๐ หรือไม่
๒. ท่านเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่
๓. ท่านสูบบุหรี่หรือไม่
๔. ท่านเป็นเบาหวานหรือไม่
๕. ท่านมีไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดสูงหรือไม่
๖. ท่านเป็นโรคหัวใจหรือไม่
๗. ท่านมีกิจกรรมทางกาย เช่น เดินหรือออกกำลังกายอย่างน้อย ๓๐ นาทีต่อครั้ง อย่างน้อย ๓ ครั้งต่ออาทิตย์หรือไม่
๘. ท่านชอบอาหารประเภททอด ของมัน หรืออาหารรสเค็มหรือไม่
๙. ท่านดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า ๒ แก้วต่อวันหรือไม่
๑๐. ท่านมีญาติ เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง ปู่ ย่า ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือไม่
ถ้าท่านตอบว่ามีหรือใช่ข้อใดข้อหนึ่ง แสดงว่าท่านมีความเสี่ยงและท่านตอบว่ามีหรือใช่มากกว่าหนึ่งข้อ แสดงว่าท่านยิ่งมีความเสียงมากขึ้น
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น