การเคาะปอด
บางครั้งเราเดินเข้าไปในกลุ่มคน เราจะได้ยินเสียงไอ เสียงนั้นกลั้วไปด้วยเสมหะในคอ แล้วตามด้วยการขากเอาเสมหะทิ้ง บางครั้งก็เงียบเสียงไปเลย
ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ย่อมเกิดภาวะนี้ได้เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูฝนที่เป็นไข้หวัดกันได้ง่าย หรือในหมู่คนที่สูบบุหรี่เสมหะเกิดขึ้นได้อย่างไร เสมหะมีคุณประโยชน์หรือโทษ
เราจะขจัดเสมหะได้อย่างไร ถ้าเราไม่บ้วนทิ้งเสมหะจะไปอยู่ที่ไหน
สาเหตุเสมหะเกิดจากการระคายเคืองหรืออักเสบของทางเดินหายใจและปอด ทำให้เยื่อบุผิวภายในของทางเดินหายใจและปอดผลิตน้ำคัดหลั่ง มีลักษณะเหลวใส ถ้าสั่งออกมาได้ทางจมูกเราก็มักเรียกว่าน้ำมูก ถ้าออกผ่านทางปากก็มักเรียกว่าเสมหะ
น้ำมูกที่เกิดขึ้นในจมูกและโพรงจมูกจะกระตุ้นปลายประสาทที่อยู่ในโพรงจมูก ทำให้เกิดการจาม
ส่วนเสมหะที่เกิดในคอ หลอดลม และถุงลมนั้น ถ้ามีการไหลมายังหลอดลมใหญ่ก็จะกระตุ้นปลายประสาทให้มีการไอ
การจามและไอนี้เป็นความมหัศจรรย์ที่ธรรมชาติสร้างขึ้นเพื่อขับสิ่งแปลกปลอมออกจากทางเดินหายใจและปอด เพื่อให้อากาศที่หายใจผ่านเข้าไปถึงถุงลมในปอดได้อย่างสะดวก ก๊าซออกซิเจนจะซึมผ่านผนังถุงลมเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อนำไปใช้เลี้ยงทั่วร่างกายและสมอง
คุณประโยชน์หรือโทษอาจกล่าวได้ว่า เสมหะไม่ได้ให้คุณประโยชน์อะไร นอกจากเป็นสัญญาณเตือนให้เรารู้ว่ามีอะไรผิดปกติในทางเดินหายใจได้บ้าง ถ้ามีเสมหะในโพรงจมูกก็ทำให้เกิดอาการคัดจมูก หายใจไม่สะดวก ถ้าเสมหะในโพรงจมูกไหลลงมาที่คอก็จะเกิดการไอ ไอทุกครั้งที่ขยับปากพูด หรือพูดไปไอไปน่ารำคาญทั้งตัวเองและคู่สนทนา ถ้าเสมหะมีอยู่ในปอด พอล้มตัวลงนอนก็จะไอ หรือดึกๆก็จะตื่นขึ้นมาไอสักพักใหญ่จึงจะหายไอและนอนหลับได้
เสมหะถ้าขังอยู่ในปอดก็จะทำให้อากาศไม่สามารถผ่านเข้าไปถึงผนังถุงลมและมีการแลกเปลี่ยนก๊าซได้ ร่างกายและสมองจะมีภาวะออกซิเจนต่ำและคาร์บอนไดออกไซด์สูง เกิดอาการเหนื่อยง่าย หน้ามืด ตัวเขียว และถ้าเสมหะขังอยู่นานผนังถุงลมจะเสื่อมสภาพ
นอกจากนั้นเสมหะถือว่าเป็นอาหารชั้นดีของเชื้อโรค ถ้าเสมหะมีการติดเชื้อก็จะเปลี่ยนจากของเหลวใสเป็นข้นขุ่นสีเหลืองหรือเขียว และอาจมีไข้ได้
การขจัดเสมหะดังได้กล่าวแล้วว่าเสมหะมีแต่โทษ จึงควรขจัดทิ้งโดยเร็ว อย่าปล่อยไว้นาน การขจัดเสมหะง่ายๆ คือการไอให้เสมหะออก
แต่เสมหะที่อยู่ในส่วนลึกของปอดจะขจัดออกมาได้ยากมาก จำเป็นต้องใช้วิธีการพิเศษทางกายภาพบำบัดช่วย โดยการจัดท่านั่งหรือนอนให้ทรวงอกหรือปอดเอียงในมุมที่พอดี ให้เสมหะในถุงลมตามตำแหน่งต่างๆในปอดได้ไหลระบายออกมายังหลอดลมใหญ่ แล้วไอเอาเสมหะออกทิ้ง
ถ้าร่างกายได้รับน้ำน้อย เสมหะจะเหนียวข้น และจะไม่สามารถไหลระบายออกมาได้ จากการจัดท่าทางดังกล่าว จำเป็นต้องใช้เทคนิคอื่นร่วม เช่น การใช้อุ้งมือเคาะที่ทรวงอก หรือทำการสั่นทรวงอกหรือปอดด้วยมือหรือเครื่องที่ให้แรงสั่นสะเทือนที่พอเหมาะ เสมหะก็จะไหลลงมายังหลอดลมใหญ่ไปกระตุ้นให้เกิดการไอ
การไอก็จะต้องไออย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อขจัดเอาเสมหะออกจากหลอดลมให้ได้มากที่สุด
วิธีการไออย่างมีประสิทธิภาพคือ คุณต้องหายใจเข้าทางจมูกให้มากที่สุด เพื่อให้ลมหายใจเข้าไปอยู่หลังเสมหะ สังเกตได้จากทรวงอกจะขยายโดยที่ไหล่ไม่ยก และคอไม่ยืด กลั้นหายใจไว้สักครู่แล้วไอให้แรงพอสมควร ซึ่งต้องคำนึงถึงว่าลมที่อยู่หลังเสมหะจะกระแทกเสมหะให้ขึ้นมาตามหลอดลม ไม่ใช่ไอเบาๆ เหมือนการไออย่างสุภาพเมื่ออยู่ในสังคม
การหายใจเข้า-ออกลึกๆติดต่อกันชุดละ 5-7 ครั้ง ก็จะเป็นการทำให้ถุงลมขยายและแฟบสลับกัน โดยไม่เป็นอันตรายต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือด แต่มีผลดีคือทำให้ถุงลมที่มีเสมหะเกาะยึดอยู่ มีการพองและแฟบสลับกัน เสมหะจะล่อนตัวจากถุงลมได้ ซึ่งง่ายต่อการระบายสู่หลอดลมใหญ่
ถ้าไม่บ้วนเสมหะทิ้ง เสมหะจะถูกกลืนเข้ากระเพาะอาหารในเด็กเล็กที่กระเพาะอาหารยังเล็กอยู่ เมื่อมีเสมหะเต็มกระเพาะอาหาร จะทำให้เด็กเบื่ออาหาร เมื่อให้อาหาร เด็กจะกินเข้าไปได้เล็กน้อยแล้วจะอาเจียนเอาเสมหะออกมามาก
เสมหะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ถ้าเสมหะมากควรขจัดออกให้ได้วันละ 3 ครั้ง คือ เมื่อตื่นนอนตอนเช้า ตอนกลางวัน และก่อนนอนตอนกลางคืน การจัดท่าทาง เคาะหรือสั่นปอดควรทำก่อนกินอาหาร น้ำ นม หรือของขบเคี้ยวอื่นๆ หรือภายหลังกินไปแล้ว 2 ชั่วโมง มิเช่นนั้นจะเกิดการไอ และสำลักเอาเศษอาหารเข้าหลอดลมอุดตันทางเดินหายใจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
วิธีการช่วยตนเองในการขจัดเสมหะจัดท่าทางของตนเองให้อยู่ในท่าต่างๆดังกล่าวข้างล่างนี้ และระหว่างที่อยู่ในท่าทางต่างๆจะต้องสูดลมหายใจเข้า-ออกลึกๆ 5-7 ครั้ง แล้วพยายามไอเอาเสมหะออก หรืออาจให้ญาติช่วยเคาะปอดให้ซึ่งควรจะต้องได้รับการฝึกหัดมาอย่างถูกต้องจากนักกายภาพบำบัด
ท่าที่ ๑ นอนคุกเข่า ก้นโด่ง วางศีรษะพักบนหลังมือซึ่งคว่ำทับกันไว้ หรือใช้หมอนหนุนศีรษะขนาดใหญ่วางซ้อนใต้ช่วงก้น ให้ศีรษะต่ำ ทรวงอกเอนลง 45 องศา โดยอยู่ในท่านอนคว่ำ เมื่อไอเอาเสมหะออกจากท่านี้หมดแล้ว ให้เปลี่ยนมาเป็นนอนตะแคง ทำวิธีการเดิมเพื่อขจัดเสมหะแล้วเปลี่ยนเป็นนอนหงาย
ท่าที่ ๒ นำหมอนมาหนุนใต้สะโพกให้ศีรษะต่ำ ทรวงอกเอนลง 30 องศา แล้วอยู่ในท่านอนตะแคงร่วมกับเอนหลัง 45 องศา
ท่าที่ 3 นอนคว่ำราบไม่ต้องใช้หมอนหนุนก้น
ท่าที่ 4 นอนหงายราบชันเข่าไม่ต้องใช้หมอนหนุนก้นเช่นเดียวกันท่าที่ 6 นอนตะแคงทับข้างขวาในขณะเอนหน้า 45 องศา และใช้หมอนหนุนให้ทรวงอกเอนขึ้นสูง
ท่าที่ ๗ นั่งเอนตัวมาข้างหน้า หรือหลังเล็กน้อย
หลักสำคัญในการจัดท่าทางคือ คุณจะต้องไม่เกร็ง มีความรู้สึกผ่อนคลายการเกร็งโดยการหนุนหรือรองรับศีรษะ ลำตัว แขน ขา อย่างพอเหมาะ การเกร็งของร่างกายจะทำให้กล้ามเนื้อทรวงอกเกร็งตัว ทรวงอกและปอดขยายได้น้อย การระบายเสมหะจึงไม่สะดวก
แต่ถ้าเสมหะยังไม่ออกมา แสดงว่าเสมหะเหนียวมาก จะต้องเคาะปอดช่วยให้เสมหะสั่นสะเทือนและล่อนออกจากถุงลมโดยให้นอนตามท่าดังกล่าวซ้ำอีกครั้ง แล้วทำการเคาะปอด การเคาะจะต้องทำมือเป็นกระพุ้ง (ภาพที่ 8) เวลาเคาะจึงจะเกิดการสั่นสะเทือนและไม่เจ็บ เคาะไปที่ทรวงอกตามตำแหน่งต่างๆดังแสดงในภาพ 1-7
สิ่งที่ต้องระวังคือ ไม่เคาะปอดรุนแรงจนเกินไป จนช้ำในหรือไอออกมาเป็นเลือด เมื่อไรที่มีการไอออกมาเป็นเลือดจะต้องหยุดทำการเคาะปอดและไปพบแพทย์ในทันที
เสมหะที่ขังอยู่ในปอดเป็นจำนวนมากจะไม่สามารถขจัดออกได้ด้วยยา วิธีที่ดีที่สุดคือการให้กายภาพบำบัดทรวงอก ซึ่งเป็นวิธีธรรมชาติ และทุกคนสามารถทำได้หากได้รับการฝึกฝนอย่างถูกต้อง
ข้อควรปฏิบัติเมื่อมีเสมหะในปอด
1. ดื่มน้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่นวันละหลายๆแก้ว
2. งดน้ำหรืออาหารที่เย็น
3. สวมเสื้อผ้าให้หนาเพื่อให้เกิดความอบอุ่นต่อปอด ในเด็กที่ต้องนั่งเล่นบนพื้นจะต้องสวมกางเกงขายาว และถุงเท้าด้วยเพื่อไม่ให้ขาและเท้าเย็น
4. ใช้ผ้าขนหนูหรือผ้าที่หนาปูรองนอนเพื่อป้องกันมิให้เย็นบริเวณหลัง และห่มผ้าปิดหน้าอกให้มิดชิด
5. ไม่เปิดพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศให้ลมเย็นจี้มาที่ทรวงอก ควรใช้เพื่อระบายอากาศเท่านั้น
6. อาบน้ำที่ไม่เย็นในห้องน้ำที่ปิดมิดชิด แต่งตัวให้อบอุ่นก่อนออกมานอกห้อง
7มายเหตุ ท่าทางในการเคาะปอดทั้งหมดสามารถนำไปใช้ได้ถ้าไม่มีข้อห้ามต่างๆดังต่อไปนี้ อย่างไรก็ตาม จะต้องนำผู้ป่วยไปพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาก่อนเสมอ
ข้อห้ามในการเคาะปอดคือ
1. ไอมีเสมหะปนเลือด
2. โรคหัวใจ หรือหลอดเลือดโป่งพอง
3. กระดูกซี่โครงหัก
4. วัณโรคปอดระยะเฉียบพลัน
5. ถุงหนองในเนื้อปอดในตำแหน่งใกล้เยื่อหุ้มปอด
6. หนองหรือของเหลวในเยื่อหุ้มปอด
ข้อควรปฏิบัติเมื่อมีเสมหะในปอด
1. ดื่มน้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่นวันละหลายๆแก้ว
2. งดน้ำหรืออาหารที่เย็น
3. สวมเสื้อผ้าให้หนาเพื่อให้เกิดความอบอุ่นต่อปอด ในเด็กที่ต้องนั่งเล่นบนพื้นจะต้องสวมกางเกงขายาว และถุงเท้าด้วยเพื่อไม่ให้ขาและเท้าเย็น
4. ใช้ผ้าขนหนูหรือผ้าที่หนาปูรองนอนเพื่อป้องกันมิให้เย็นบริเวณหลัง และห่มผ้าปิดหน้าอกให้มิดชิด
5. ไม่เปิดพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศให้ลมเย็นจี้มาที่ทรวงอก ควรใช้เพื่อระบายอากาศเท่านั้น
6. อาบน้ำที่ไม่เย็นในห้องน้ำที่ปิดมิดชิด แต่งตัวให้อบอุ่นก่อนออกมานอกห้อง
7มายเหตุ ท่าทางในการเคาะปอดทั้งหมดสามารถนำไปใช้ได้ถ้าไม่มีข้อห้ามต่างๆดังต่อไปนี้ อย่างไรก็ตาม จะต้องนำผู้ป่วยไปพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาก่อนเสมอ
ข้อห้ามในการเคาะปอดคือ
1. ไอมีเสมหะปนเลือด
2. โรคหัวใจ หรือหลอดเลือดโป่งพอง
3. กระดูกซี่โครงหัก
4. วัณโรคปอดระยะเฉียบพลัน
5. ถุงหนองในเนื้อปอดในตำแหน่งใกล้เยื่อหุ้มปอด
6. หนองหรือของเหลวในเยื่อหุ้มปอด
ข้อห้ามในการเคาะปอดคือ
1. ไอมีเสมหะปนเลือด
2. โรคหัวใจ หรือหลอดเลือดโป่งพอง
3. กระดูกซี่โครงหัก
4. วัณโรคปอดระยะเฉียบพลัน
5. ถุงหนองในเนื้อปอดในตำแหน่งใกล้เยื่อหุ้มปอด
6. หนองหรือของเหลวในเยื่อหุ้มปอด
ด.ญ.ขวัญชนก ตัณฑเศรษฐี
คุณกอแก้ว สุขกาย
ท่าที่ 5 นอนตะแคงราบทับข้างซ้ายในขณะเอนหน้า 45 องศา
30 องศา
การเคาะควรเคาะในระดับไม่เกิน 1 ฝ่ามือต่ำจากรักแร้ มิเช่นนั้นจะเคาะไปที่ตับและไต ฯลฯ ทำให้เป็นอันตรายได้ และไม่เคาะที่เต้านม กระดูกกลางอก กระดูกไหปลาร้า สะบัก และกระดูกสันหลัง ซึ่งอาจเกิดอันตรายได้
บทความนี้คัดลอกมาจาก
http://www.doctor.or.th/article/detail/3702
http://www.doctor.or.th/article/detail/3702
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น