วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทความสุขภาพ อาการไข้เลือดออก


ฤดูฝนมาเยือนแล้วครับพี่น้องสมาชิกชาว บทความสุขภาพทุกๆท่าน รักษาสุขภาพกันด้วยหนะครับ เดียวนี้โรคภัยไข้เจ็บน่ากลัวขึ้นทุกวัน โรคใหม่ๆเกิดขึ้นทุกวัน คนเราก็ดูแลตัวเองน้อยลงทุกวัน ทำแต่งานเอาแต่เงิน จนแทบไม่ได้ใส่ใจตัวเอง ใส่ใจคนรอบข้างและ สภาพแวดล้อม วันนี้ ทีมงานบทความสุขภาพ อยากคุยอยากเมาส์เรื่องโรคที่มากับหน้าฝน ซึ่งคิดว่าคงหนีไม่พ้นเจ้าโรคร้ายๆที่มีชื่อว่า โรคไข้เลือดออก ยอมรับเลยครับว่าโรคนี้เป็นโรคยอดฮิตของฤดูฝน ซึ่งความรุนแรงของโรคนี้ก็คือเสียชีวิต มาดูกันครับว่าตัวโรคไข้เลือดออกเป็นอย่างไรครับมาดูส่วนแรกกันครับ
มาดูสาเหตุก่อนเลยครับ

        สำหรับประเทศไทยบ้านเราเชื้อไวรัสไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ และมียุงลายเป็นพาหะนำโรค (พนักงานรับส่งเชื้อโรคนั่นเอง)นี่คงเป็นสาเหตุหลักๆครับผม แต่ใช่ว่าทุกคนที่ได้รับเชื้อไวรัสเดงกี่จะเป็นโรคไข้เลือดออกเสมอไปหนะครับ เพราะว่าผู้ที่ได้รับเชื้อบางรายก็ไม่เป็นไข้เลือดออกก็มีหนะครับ
อาการไข้เลือดออก
       
อาการไข้เลือดออก ไม่จำเพราะอาการ มีได้หลายอย่างครับ โดยในเด็กบางรายอาจมีเพียงอาการไข้ ตัวร้อน และมีผื่น ในผู้ใหญ่ที่เป็นไข้เลือดออก อาจมีไข้สูงบ้าง ปวดศีรษะบ้าง ปวดตามร่างกาย ปวดกระบอกตา  ซึ่งบางคนอาจไม่ทราบเลยครับว่าตัวเองเป็นโรคไข้เลือดออก และปล่อยปละละเลยไปจนทำให้เสียชีวิตได้ครับ ฟังจากอาการไข้เลือดออก   เป็นอย่างไรบ้างครับน่ากลัวไหมหละครับโรคนี้ ผมขอสรุป อาการไข้เลือดออก เป็น 4 หัวข้อตามนี้หนะครับ
 1. ไข้สูงลอย : ไข้ 39-40 มักมีหน้าแดง โดยมากไม่ค่อยมีอาการน้ำมูกไหลหรือไอ เด็กโตอาจมีอาการปวดเมื่อยตามตัว และปวดศีรษะ อาการไข้สูงมักมีระยะ 4-5 วัน 
          2. อาการเลือดออก : เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน เลือดออกในกระเพาะ โดยจะมีอาการ อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายดำ มีจุดเลือดออกตามตัว 

          3. ตับโต 
          4. ความผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือด หรือช็อก  :  มักจะเกิดช่วงไข้จะลด โดยผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่ายมือเท้าเย็น รอบปากเขียว อาจมีอาการปวดท้องมาก ก่อนจะมีอาการช็อก ชีพจรเบาเร็ว ความดันต่ำ
แนวทางการรักษาโรคไข้เลือดออก     
        โรค ไข้เลือดออก ไม่มีการรักษาเฉพาะ การรักษาเป็นเพียงการประคับประคองอย่างใกล้ชิดโดยการเฝ้าระวังภาวะช็อก และเลือดออก และการให้สารน้ำอย่างเหมาะสมก็จะทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลง โดยทั่วไปการดูแลผู้ป่วยโรค ไข้เลือดออก มีแนวทางการดูแลอย่างใกล้ชิด ดังนี้ 

          
1. ให้ยาลดไข้ เช็ดตัวลดไข้ ยาลดไข้ที่ควรใช้คือ พาราเซตามอล ไม่ควรใช้ยาจำพวกแอสไพริน เนื่องจากจะทำให้เกล็ดเลือดผิดปกติ และระคายกระเพาะอาหาร 
          
2. ให้สารน้ำชดเชย เนื่องจากผู้ป่วยไข้เลือดออก มักมีภาวะขาดน้ำ เนื่องจากไข้สูง เบื่ออาหาร และอาเจียน ในรายที่พอทานได้ให้ดื่มน้ำเกลือแร่บ่อย ๆ ในรายที่ขาดน้ำมาก หรือมีภาวะเลือดออก เช่น อาเจียน หรือถ่ายเป็นเลือดต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล เพื่อให้สารน้ำทางเส้นเลือด 
          
3. ติดตามดูอาการใกล้ชิด ถ้าผู้ป่วยไข้เลือดออกมีอาการปวดท้อง ปัสสาวะน้อยลง กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น โดยเฉพาะในช่วงไข้ลด ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที 
          
4. ตรวจนับจำนวนเกล็ดเลือดและความเข้มข้นของเลือดเป็นระยะ เพื่อใช้พิจารณาปริมาณการให้สารน้ำชดเชย

การปฏิบัติตัวเมื่อมีคนในบ้านเป็นไข้เลือดออก
          เนื่องจากไข้เลือดออกระบาดโดยมียุงเป็นตัวแพร่พันธุ์ ดังนั้นเมื่อมีคนในบ้านหรือข้างบ้านเป็นไข้เลือดออก ควรจะบอกคนในบ้านหรือข้างบ้านว่า มีคนเป็นไข้เลือดออกด้วย และแจ้งสาธารณสุขให้มาฉีดยาหมอกควันเพื่อฆ่ายุง รวมถึงดูแลให้สมาชิกในครอบครัวป้องกันการถูกยุงกัด สำรวจภายในบ้าน รอบบ้าน รวมทั้งเพื่อนบ้านว่ามีแหล่งแพร่พันธุ์ยุงหรือไม่ หากมีให้รีบจัดการและทำลายแหล่งแพร่พันธุ์นั้น เพื่อป้องกันการเป็นไข้เลือดออก
          นอกจากนี้ต้องคอยระวังเฝ้าดูอาการของสมาชิกในบ้านหรือข้างบ้านว่ามีไข้หรือไม่ หากมีไข้ให้ระวังว่าอาจจะเป็น ไข้เลือดออกได้ 
        วันนี้ผมขอค้างไว้แค่นี้ก่อนหนะครับ เดียวคราวหน้าจะมาคุยต่อในเรื่องของการ ป้องกัน และการกำจัดยุงลาย ขอบคุณบทความบางส่วนจากกระปุ๊กดอทคอมครับ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น