การใช้ยาเม็ดคุมก าเนิดอย่างถูกวิธี
เภสัชกรกิติยศ ยศสมบัติ
สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน (โอสถศาลา)
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
www.osotsala-chula.com
การคุมก าเนิดมีความจ าเป็นอย่างไร
การคุมก าเนิดเป็นวิธีการป้องกันการตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ ซึ่งอาจหมายถึงการตั้งครรภ์ในขณะที่
ครอบครัวยังไม่พร้อม หรือการตั้งครรภ์ ในครอบครัวที่มีลูกหญิง ชายเพียงพอกับความต้องการแล้ว การตั้งครรภ์อัน
ไม่พึงประสงค์ที่เกิดเพราะไม่ได้คุมก าเนิด หรือความล้มเหลวจากวิธีการคุมก าเนิด อาจสร้างปัญหาตามมาได้หลาย
ประการ ตั ้งแต่ความ ไม่พร้อมด้านวุฒิภาวะของพ่อแม่ ความไม่พร้อมทางเศรษฐานะ ปัญหาครอบครัวและสังคม
ส่งผลให้เด็กที่เกิดจากการตั้งครรภ์อันไม่พึงประสงค์เป็นเยาวชนที่ไม่มีคุณภาพ และเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาของ
ประเทศในภายภาคหน้า
การคุมก าเนิดมีหลากหลายวิธี ซึ่งมีข้อดีและข้อด้อยที่แตกต่างกัน ซึ่งคุณผู้ฟังที่สนใจควรศึกษาหาข้อมูล
เพิ่มเติมและปรึกษาบุคลากรทางสาธารณสุขเพื่อเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมกับตนเองมากที่สุด
ทางเลือกในการคุมก าเนิดของฝ่ายชายได้แก่อะไรบ้าง
ทางเลือกในการคุมก าเนิดของฝ่ายชายนั้นมีได้หลายวิธีการ เช่นการใช้ถุงยางอนามัยและการท าหมันโดยการ
ตัดและมัดท่ออสุจิ
ถุงยางคือปลอกยางเนื้อบางที่ออกแบบมาเพื่อสวมครอบปลายอวัยวะเพศชายขณะที่อวัยวะแข็งตัว และต้อง
สวมอยู่ตลอดเวลาที่มีเพศสัมพันธ์เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้น้ าอสุจิของผู้ชายส่ งต่อเข้าไปปฏิสนธิในมดลูกของผู้หญิง
นอกจากจะเป็นการคุมก าเนิดแล้ว ถุงยางอนามัยยังช่วยป้องกันการติดเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่นหนองใน
ช่องคลอดอักเสบ มะเร็งปากมดลูก และเอดส์
ส าหรับการท าหมันโดยตัดและมัดท่ออสุจินั้น เป็นการผ่าตัดเล็ก บริเวณท้องน้อยของ ผู้ชายเพื่อตัดท่ออสุจิ
และผูกปลายไว้ ท าให้ไม่สามารถส่งต่ออสุจิจากภายในร่างกายออกมาได้ การผ่าตัดท าหมันนี้ถือเป็นการคุมก าเนิด
แบบถาวรต่างจากการใช้ถุงยางอนามัยที่เป็นการคุมก าเนิดแบบชั่วคราว
ทางเลือกในการคุมก าเนิดของฝ่ายหญิงได้แก่อะไรบ้าง
ทางเลือกในการคุมก าเ นิดของฝ่ายหญิง ได้แก่การใช้ถุงยางอนามัยส าหรับสตรี การใช้น้ ายาฆ่าอสุจิสวนล้าง
ช่องคลอด การใช้ห่วงคุมก าเนิด การใช้ยาฮอร์โมนคุมก าเนิด ซึ่งก็มีได้หลายรูปแบบทั้งแบบฝังใต้ผิวหนัง แบบฉีด และ
แบบที่นิยมที่สุดนั่นก็คือแบบเม็ดรับประทาน
ถุงยางอนามัยสตรีคือปลอกยางที่มี ความยืดหยุ่นส าหรับสอดเข้าในช่องคลอดของผู้หญิงเพื่อปกปิดปาก
มดลูก ถุงยางอนามัยสตรีมีจ าหน่ายในขนาดต่าง ๆ โดยแพทย์จะต้องเป็นผู้สวมใส่ให้ ควรใช้ถุงยางอนามัยสตรีร่วมกับ
ครีมฆ่าเชื้ออสุจิ ถุงยางอนามัยสตรีสามารถสวมใส่ในตอนใดก็ได้ก่อนการร่วมเพศและควรสวมทิ้งไว้เป็นเวลาอย่าง
น้อยหกชั่วโมงหลังการใส่ ผู้หญิงส่วนใหญ่สามารถใส่ถุงยางอนามัยสตรีได้ ถุงยางอนามัยสตรีและครีมฆ่าเชื้ออสุจิเป็น
วิธีการในการคุมก าเนิดที่เชื่อถือได้หากสวมใส่ลงในช่องคลอดอย่างถูกต้อง
ยาฆ่าอสุจิใช้ร่วมกับถุงยางอนามัยหรือถุงยางอนามัยสตรี ทั้งนี้ไม่ใช่วิธีที่เหมาะสมส าหรับการคุมก าเนิดหาก
ใช้เพียงอย่างเดียว ผลิตภัณฑ์นี้ท าขึ้นเป็นครีม โฟม เยลลี่หรือยาสอด และค่อนข้างเป็นที่นิยมในต่างประเทศ
นอกจากนี้ยังมีผลข้างเคียงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ห่วงคุมก าเนิด (Intrauterine System (IUS) หรือ Intrauterine Device (IUD)) เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ใช้สอด
เข้าในมดลูกของผู้หญิงโดยแพทย์ การใส่ห่วงคุมก าเนิดอาจให้ความรู้สึกไม่สบายเล็กน้อย แต่อาการดังกล่าวจะ ค่อยๆ
ลดลงในระยะสองถึงสามสัปดาห์ ห่วงคุมก าเนิด มีผลขัดขวางการเติบโตของเยื่อบุผนังมดลูก ท าให้เชื้ออสุจิไม่สามารถ
เจาะเข้าในเยื่อบุปากมดลูก นอกจากนี้ยังไปขัดขวางไม่ให้เชื้ออสุจิเคลื่อนผ่านปากมดลูก ห่วงคุมก าเนิดสามารถใช้ได้
เป็นเวลาหลายปี และเป็นวิธีการคุมก าเนิดที่มีความน่าเชื่อถือ ส าหรับห่วงคุมก าเนิดแบบ copper coils ที่มี
องค์ประกอบของทองแดงใช้งานโดยสวมเข้าในมดลูกเหมือนกับห่วงคุมก าเนิดแบบฮอร์โมน ห่วงคุมก าเนิดประเภทนี้จะ
ขัดขวางไม่ให้ไข่ฝังตัวลงในมดลูกได้ และสามารถขัดขวางเชื้ออสุจิไม่ไห้เคลื่อนเข้าไปในมดลูก ห่วงคุมก าเนิดประเภทนี้
ใช้ได้ผลดีเป็นเวลาห้าถึงสิบปี และถือเป็นวิ ธีการคุมก าเนิดที่ดีพอสมควร Copper coils สามารถท าให้ประจ าเดือนมี
มากกว่าปกติและอาจมีอาการปวดประจ าเดือนตามมา
ยาฝังคุมก าเนิดมีขนาดเท่ากับไม้ขีดไฟและประกอบด้วยฮอร์โมนโปรเจสโตเจนสังเคราะห์ ใช้โดยการสอดเข้า
ใต้ท้องแขนของผู้หญิงเป็นระยะเวลาสามถึงห้าปี ขึ้นอยู่กับชนิดที่ใช้ โดยแพทย์จะเป็นผู้ฝังตัวยา ยาฝังคุมก าเนิดท างาน
โดยป้องกันการตกไข่และส่งผลต่อการสร้างเมือกบริเวณปากมดลูกท าให้เชื้ออสุจิไม่สามารถเข้าถึงมดลูกและท่อรังไข่
ได้ ยาฝังคุมก าเนิดเป็นวิธีการคุมก าเนิดที่เชื่อถือได้
ยาเม็ดคุมก าเนิดมีประโยชน์อะไรบ้ าง
ยาเม็ดคุมก าเนิดประกอบไปด้วยฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งส่วนใหญ่ที่มีจ าหน่ายในท้องตลาดประกอบไปด้วย
ฮอร์โมนสองชนิดคือเอสโตรเจนและโปรเจสโตรเจน เมื่อร่างกายได้รับฮอร์โมนทั้งสองนี้อย่างต่อเนื่องจากยาเม็ด
คุมก าเนิด จะมีผลยับยั้งการตกไข่และปรับเปลี่ยนสภาวะในมดลูกและช่องคลอดให้ไม่เหมาะสมแก่การปฏิสนธิและการ
ฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว
นอกจากการคุมก าเนิดแล้ว ยาเม็ดคุมก าเนิดยังมีประโยชน์ในแง่อื่นๆ อีก ได้แก่
1.ช่วยให้ประจ าเดือนมาสม่ าเสมอ นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาอาการปวดท้องและอาการเครียดก่อนและขณะ
มีประจ าเดือน รวมถึงช่วยป้องกันและลดภาวะโลหิตจาง และลดอาการปวดศีรษะไมเกรน
2.ช่วยลดภาวะการเกิ ดสิว หน้ามัน และขนดก เพราะยาคุมก าเนิดบางชนิดจะมีฮอร์โมนที่ออกฤทธิ์ต่อต้าน
ฮอร์โมนเพศชาย จึงช่วยท าให้อาการดังกล่าวลดลงได้
3.ช่วยให้กระดูกแข็งแรง จากผลการวิจัยพบว่ายาคุมก าเนิดจะช่วยควบคุมฮอร์โมนภายในร่างกายให้อยู่ใน
ระดับสมดุล จึงช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนในผู้หญิงก่อนและหลังหมดประจ าเดือนได้
4.ช่วยลดอาการผิดปกติก่อนมีประจ าเดือน โดยยาคุมก าเนิดจะมีส่วนช่วยบรรเทาและลดระยะเวลาของ
อาการผิดปกติก่อนมีประจ าเดือน เช่น อ่อนเพลีย หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล ท้องอืด มือเท้าบวมหรือปวดเมื่อยตามตัว
5.ช่วยลดอุบัติ การณ์ของมะเร็งรังไข่ เนื่องจากยาคุมก าเนิดจะป้องกันไม่ให้มีการตกของไข่ ดังนั้นจึงไม่มี
ผลกระทบต่อผิวของรังไข่ และท าให้ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ที่ผิวรังไข่
6.ช่วยลดอุบัติการณ์ของภาวะอักเสบในอุ้งเชิงกราน เพราะฮอร์โมนในยาคุมก าเนิดจะท าให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงของมูกบริเวณปากมดลูก โดยท าให้เหนียวข้นขึ้น จึงช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อโรคผ่านเข้าไปในโพรงมดลูกและ
อุ้งเชิงกราน
มีผู้ป่วยหรือใครบ้างหรือไม่ที่ไม่ควรใช้ยาเม็ดคุมก าเนิด
ผู้ที่ห้ามใช้ยาเม็ดคุมก าเนิดได้แก่
ตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่าจะตั้งครรภ์ ดังนั้นในรายที่ประจ าเดือนไม่มา ควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อนที่จะเริ่มให้ยา
เม็ดคุมก าเนิด ส าหรับหญิงที่ให้นมบุตร ควรเลือกใช้ยาเม็ดคุมก าเนิดสูตรที่มีเฉพาะโปรเจสโตรเจน เนื่องจาก
เอสโตรเจนจะมีผลรบกวนการหลั่งน้ านม ท าให้มีปริมาณน้ านมลดลง
โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรง ระบบไขมันในร่างกายผิดปกติ
โรคที่เกี่ยวกับระบบการแข็ งตัวของเลือดหรือเบาหวานที่ควบคุมได้ไม่ดี
โรคตับอักเสบเฉียบพลัน ตับอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส และโรคตับเรื้อรัง
มะเร็งที่มีการเจริญเติบโตขึ้นกับฮอร์โมน เช่นมะเร็งเต้านม และมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก แต่ส าหรับมะเร็งของ
รังไข่ จะพบว่าการใช้ยาเม็ดคุมก าเนิดสามารถลดโอกาสการเกิดโรคได้ ประเด็นเรื่องความปลอดภัยจากการ
ใช้ยาเม็ดคุมก าเนิดต่อการเกิดมะเร็งเหล่านี้ ยังไม่มีข้อสรุปชัดเจน ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มใช้
เลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก โดยยังไม่ทราบสาเหตุ
วิธีการรับประทานยาเป็นอย่างไร
แม้ว่ารอบเดือนของผู้หญิงแต่ละคนจะมีช่วงเวลาแตกต่างกัน แต่เมื่อใช้ยาคุมก าเนิดแล้วจะปรับให้แต่ละเดือน
มีช่วงเวลาคงที่คือ 28 วัน ดังนั้นยาเม็ดคุมก าเนิดที่มีจ าหน่ายในประเทศไทยจึงออกแบบให้ใช้แผงละ 1 รอบเดือนคือ
28 วัน โดยที่บางผลิตภัณฑ์อาจมีเพียงเฉพาะเม็ดยาที่เป็นฮอร์โมนจ านวน 21-24 เม็ด และมีเม็ดยาปราศจากฮอร์โมน
อีก 4-7 เม็ดให้รวมแล้วเป็น 28 เม็ด หรือบางผลิตภัณฑ์ก็ไม่มีเม็ดยาปราศจากฮอร์โมน ซึ่งประเภทหลังนี้ ผู้ใช้ยาต้อง
จดจ าวันที่ต้องเว้นช่วงด้วยตนเอง
การรับประทานยาเม็ดคุมก าเนิด ควรเริ่มรับประทานยาเม็ดแรกในวันแรกที่มีประจ าเดือน โดยนับวันแรกที่มี
เลือดประจ าเดือนเป็นวันที่หนึ่งของรอบเดือน แบบ 21 เม็ด เมื่อรับประทานยาครบ 21 เม็ด จนหมดแผงแรกแล้ว ให้
หยุดยา 7 วัน ให้เริ่มรับประทานยาแผงใหม่ได้ ถึงแม้ว่าประจ า เดือนจะหมดหรือยังก็ตาม ด้วยวิธีนี้เมื่อเริ่มรับประทาน
ยาแผงใหม่ วันที่เริ่มรับประทานยาแผงใหม่จะตรงกับวันแรกที่เริ่มรับประทานยาแผงแรกเสมอ
แบบ 28 เม็ด เมื่อรับประทานยาครบ 28 เม็ด จนหมดแผงแล้ว ให้รับประทานยาแผงใหม่ต่อได้ทันทีเลย
ถึงแม้ประจ าเดือนจะหมดหรือยังก็ตาม ด้วยวิธีนี้เมื่อเริ่มรับประทานยาแผงใหม่ วันที่เริ่มรับประทานยาแผงใหม่จะตรง
กับวันแรกที่เริ่มรับประทานยาแผงแรกเสมอ
ช่วงเวลาและปริมาณเลือดประจ าเดือนที่ออกมาอาจน้อยกว่าปกติ อาการนี้เป็นสิ่งที่พบได้ทั่วไปของผู้
รับประทานยาเม็ดคุ มก าเนิด
ที่แผงของยาเม็ดคุมก าเนิด มักมีรูปลูกศรแสดงทิศทางและมีวันตามปฏิทินหรือตัวเลข ซึ่งควรใช้ตาม
ค าแนะน าของผลิตภัณฑ์นั้นๆ เนื่องจากบางผลิตภัณฑ์อาจมีระดับฮอร์โมนไม่เท่ากันในแต่ละเม็ด
ผลข้างเคียงของยาที่อาจพบได้โดยเฉพาะช่วงแรกที่เริ่มใช้ยาและไม่จ าเป็นต้องหยุดยา
คลื่นไส้อาเจียน
หลังจากทานยาได้ประมาณ 1-2 ชั่วโมง อาจเกิดอาการ คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งไม่มีอันตรายร้ายแรงแต่อย่างใด
อาการดังกล่าวเกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจนที่อยู่ในเม็ดยามีขนาดสูงเกินไป ซึ่งส่วนใหญ่ มักเกิดเพียง ในช่วง 2-3 เดือน
แรกของการเริ่มใช้ยา หลังจากรับประทานยาต่อเนื่องอีกระยะหนึ่ง อาการดังกล่าวก็จะค่อยๆบรรเทาลง
การแก้ปัญหานี้เบื้องต้น คือการรับประทานยาพร้อมไปกับอาหารเย็ นหรือก่อนนอน หรือในรายที่ใช้ยาไปแล้ว
2-3 แผงอาการคลื่นไส้ อาเจียนยังคงอยู่ ให้เปลี่ยนยาเม็ดคุมก าเนิดเป็นชนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนขนาดต่ าแทน
น้ าหนักตัวเพิ่ม
เกิดจากเอสโตรเจนท าให้เกิดการคั่งของน้ าและไขมันใต้ผิวหนังท าให้รู้สึกว่าตัว ”อ้วนขึ้น” ในขณะที่โป รเจสโต
เจนท าให้รู้สึกอยากรับประทานอาหารมากยิ่งขึ้น ถ้าน้ าหนักตัวเพิ่ม มากกว่า 5 กิโลกรัมภายใน 1-3 เดือนและมี
แนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ควรหยุดยาและไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาอาการโรคอื่นๆหรือพิจารณาเปลี่ยนวิธีคุมก าเนิด
ไปเป็นวิธีอื่นแทน
ปวดศีรษะแบบไมเกรน
ฮอร์โมนในยาเม็ดคุมก าเนิดโดยเฉพาะเอสโตรเจนท าให้มีการคั่งของน้ าและเกลือ ท าให้เกิดการปวดศีรษะได้
ในขณะเดียวกันคุณผู้หญิงบางรายก็อาจได้ประโยชน์จากการที่ยาเม็ดคุมก าเนิดช่วยลดความถี่ในการเป็น ไมเกรน ลงได้
อย่างไรก็ตาม หากมีประวัติเป็นโรคปวดศีรษะแบบไมเกรน ก็ ควรปรึกษาแพทย์และรับการตรวจร่างกายอย่างละเอียด
ก่อนการใช้ยาเม็ดคุมก าเนิด
หน้าเป็นฝ้า
เกิดจากฤทธิ์ของฮอร์โมนเอสโตรเจนในยาเม็ดที่ไปเร่งขบวนการเม็ดสีขอ งการเกิดฝ้าขึ้น ถ้าเริ่มเป็นฝ้า ต้องรีบ
พิจารณาเปลี่ยนไปใช้ยาเม็ ดคุมก าเนิดที่มีเอสโตรเจนต่ า พ ร้อมกับการป้องกัน/รักษาฝ้าไปพร้อมๆกัน โดยใช้ยากันแดด
หลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดจัดๆ และถ้ารักษาโรคฝ้าแล้วยังมีอาการเป็นอยู่ ก็ต้องพิจารณาเปลี่ยนวิธีคุมก าเนิด
มีเลือดออกกระปริบกระปรอยระหว่างรอบเดือน
เนื่องมาจากร่างกายมีการตอบสนองฮอร์โมนจากเม็ดยาและท าให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ ยนแปลง ไป
ซึ่ง มักเกิดกับผู้ที่ใช้ยาเม็ดคุมก าเนิดแผงแรกๆ อาจเกิดจากการรับประทานยาไม่ถูกวิธี เช่น ไม่ตรงเวลา หรือลืม
รับประทานยา หรืออาจได้รับยาอื่นร่วมด้วย เช่น ยาต้านเชื้อ ยาแก้ชัก ยาระงับประสาท ยาแก้แพ้ ยาขับปัสสาวะ
สามารถแก้ไขได้โดย รับประ ทานยาเวลาใกล้เคียงกันในทุกๆวัน เช่นทานยาทุกๆเช้าให้เหมือนๆกันจะท าให้
ปริมาณฮอร์โมนในเลือดมีอย่างสม่ าเสมอและไม่ลืมทานยา หากว่ามีเลือดออกกะปริบกะปรอยมากเกินกว่า 3 เดือน
ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อ ตรวจร่างกายและ แก้ไขที่สาเหตุอาการต่าง ๆ หรือพิจารณาเปลี่ยนยา และถ้าหาก เดิมได้รับ ยา
คุมก าเนิดชนิดที่มีปริมาณเอสโตรเจนต่ า (เช่น 20 ไมโครกรัม ) ควรเปลี่ยนไปใช้ยาคุมแบบที่มีเอสโตรเจนมากขึ้น (แบบ
30 ไมโครกรัม)
เลือดประจ าเดือนมาน้อย
เกิดจากรับประทานยาเม็ดคุมก าเนิดมาเป็นเวลานานๆ หรือสตรีที่มีรอบเดือนไม่สม่ าเสมอมาอยู่ก่อนแล้ว
สามารถแก้ไขได้โดยรับประทานยาเม็ดคุมก าเนิดที่มีฤทธิ์เอสโตรเจนสูงขึ้น
เลือดประจ าเดือนมามาก
อาจมีสาเหตุมาจากการขาดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน หรือมีเอสโตรเจนมากเกินไปในเม็ดยา แก้ไขได้โดย
รับประทานยาเม็ดคุมก าเนิดที่มีฮอร์โมนในกลุ่มโปรเจสเตอโรนสูงขึ้น หรือยาคุมที่มีฤทธิ์เอสโตรเจนลดลง ในคนไข้บาง
รายอาจเกิดความผิดปกติภายในในอุ้งเชิงกราน ดังนั้นหากเกิดอาการเช่นนี้ควรรีบปรึกษาสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจรักษา
เลือดประจ าเดือนไม่มา
อาจเกิดจากการ ลืมรับประทานยาแล้ว เกิดการตั้งครรภ์ ให้ลองตรวจสอบว่าตั้งครรภ์หรือไม่ ถ้าตั้งครรภ์ให้
หยุดใช้ยาทันที ถ้าไม่ตั้งครรภ์ให้รับประทานต่อไปอีก 1 แผง ถ้าประจ าเดือนไม่มาอีก ให้เปลี่ยนเป็น ยาเม็ดคุมก าเนิดที่มี
เอสโตรเจนสูงขึ้น ยาเม็ดที่มีเอสโตรเจนน้อยเกินไปท าให้เยื่อบุมดลูกเจริญไม่เต็มที่ นอกจากนี้ใน บางกรณีอาจเกิดจาก
การรับประทานยาอื่นร่วมไปด้วย ซึ่งมีผลต่อยาเม็ดคุมก าเนิด ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อปรับเปลี่ยนยา
ความดันโลหิตสูงขึ้น
โดยไม่เกี่ยวข้องกับโรคประจ าตัวที่เกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งผู้หยิงทุกคนที่รับประทานยาเม็ด
คุมก าเนิดควรหมั่นตรวจวัดความดันโลหิตบ่อยๆ และเปลี่ยนไปใช้ยาที่มีการลดปริมาณเอสโตรเจนจาก 30 ไมโครกรัม
ให้เหลือแบบ 20 ไมโครกรัมแทน หากตรวจพบว่ามีความดันโลหิตสูงขึ้น
เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์
ได้แก่เกิดอาการซึมเศร้า วิตกกังวลมากขึ้น เป็นผลมาจากโปรเจสโตเจนสูง ควรไปหาแพทย์เพื่อขอรับการ
บ าบัด
ผลข้างเคียงของยาที่หากเกิดขึ้นต้องรีบหยุดยา
หากปวดศีรษะอย่างมาก พร้อมด้วยอาการตาพร่าหรือมีอาการทางระบบประสาทและสมอง เช่น มี
อาการชา อ่อนแรง ข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย พูดไม่ชัดหรือพุดล าบาก
ปวดแน่นหน้าอกรุนแรง ซึ่งอาจเป็นอาการของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โดยมักพบอาการ
ปวดร้าวที่แขนซ้าย คอ หรือคางด้วย
มีอาการไอเป็นเลือด หายใจล าบาก ซึ่งอาจเกิดจากมีลิ่มเลือดอุดตันในปอด
มีอาการปวดรุนแรงที่ขา ร่วมกับการบวม กดเจ็บ ผิวหนังอุ่นหรือร้อน
มีอาการปวดแน่นหรือกดเจ็บช่องท้องด้านขวาบนซึ่งอาจเกิดจากตับอักเสบเฉียบพลัน
วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น